วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติการปกครองของไทย

การปกครองสมัยสุโขทัย
     อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น   และภูเขาพนมดงรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์ อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัย แก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศ
ราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
  ลักษณะการปกครองของสมัยอยุธยา




      ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย   เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน ครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์  James N. Mosel   ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ การปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อ ปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น   มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี  สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม  แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น     นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น  บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง   เรียกว่า ลูกบ้าน  หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง    ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง  เรียกว่าลูกขุน  วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง   คำว่า ปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง     พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น    ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน    จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์    ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา     ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ  พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร  อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดา
จะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนดความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยยาก
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน     1. เขตการปกครองแบบ เมืองราชธานี (หัวเมืองชั้นใน) คือเมืองที่ตั้งนครหลวงอันได้แก่กรุงสุโขทัยมีตัวเมืองชั้นในรายรอบเป็นปริมณฑลเรียกว่า เมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านล้อมรอบราชธานีไว้ทั้ง4ด้านระยะทางระหว่างเมืองลูกหลวงกับราชธานี นั้นมีหลักว่าจะต้องไม่เกินระยะที่จะเดินติดต่อถึงกันได้ภายในเวลา 2 วันทั้งนี้เพื่อให้การคมนาคมระหว่างเมืองหลวงและเมืองลูกหลวงได้เป็นไปโดยสะดวกด้วยเหตุนี้วงเขตของราชธานีจึงไม่สู้กว้างใหญ่นักแต่การจัดระเบียบราชธานี ดังว่านี้มีประโยชน์มากในทางยุทธศาสตร์สมัยนั้น เพราะทำให้รวมกำลังป้องกันราชธานีได้สะดวกและรวดเร็วเวลามีสงครามกำลังทั้งราชธานีและเมืองที่รายรอบก็รวมกันเป็นกองทัพหลวง
เมืองที่อยู่ในวงราชธานีสมัยกรุงสุโขทัย ถ้าระบุเมืองในครั้งนั้น ก็คือ

       ก. เมืองสุโขทัย เป็นตัวราชธานี
       ข. หัวเมืองชั้นในรอบเมืองสุโขทัยทั้ง 4 ด้าน คือ

     ด้านเหนือ มีเมืองศรีสัชชนาลัย(สวรรคโลก)เป็นเมืองที่พระมหาอุปราชหรือเรียกง่ายๆว่าเมือง
อุปราชซึ่งมีอยู่เมืองเดียวในสมัยกรุงสุโขทัยและชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นระยะที่ขุนบาลเมืองเป็น
พระมหากษัตริย์ และแต่งตั้งพระอนุชาสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราช เป็นอุปราชไปครองเมือง
ศรีสัชชนาลัยมีฐานะสูงเกือบเท่าราชธานี
     ด้านตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
     ด้านใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
     ด้านตะวันตก เมืองกำแพงเพชร

  2. เขตการปกครองแบบ เมืองพระยามหานคร (หัวเมืองชั้นนอก)คือ เมืองใหญ่ ๆ นอกราชธานีออกไปเรียกว่า เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก เมืองหนึ่งๆมีเมืองเล็กๆขึ้นอยู่มากบ้างน้อยบ้างทำนองเดียวกับมณฑลในสมัยต่อมาซึ่งมีเมืองรวมอยู่ หลายเมือง
เจ้าเมืองเป็นเจ้าหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เวลาเกิดศึกสงครามราษฎรในเมืองพระยามหานคร   เมือง
หนึ่งๆ ก็รวมกันเข้าเป็นกองพลหนึ่ง เมืองพระยามหานครสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี  ครั้งสมัยพระเจ้า
รามคำแหงมหาราช มีดังนี้
     ทิศใต้ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี
     ทิศเหนือ เมืองแพร่
     ทิศตะวันออก เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพเมืองในราชอาณาจักรแบ่งออกเป็นราชธานีและเมืองพระยามหานครโดยมีคนไทยเป็น เจ้าเมืองปกครองทั้งสิ้น
   3. เขตการปกครองแบบ เมืองประเทศราชคือ เมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักร อันชาวเมืองเป็นชนต่างชาติมีเจ้าเป็นชาวพื้นเมืองนั้นซึ่ง พระมหากษัตริย์ไทยทรงแต่งตั้งปกครองอย่างสิทธิ์ขาดเหมือนอย่างเจ้าแผ่นดินในเมืองของตนเองแต่ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการต่อพระมหากษัตริย์ไทยตามกำหนดและเวลาเกิดสงครามก็เกณฑ์กองทัพออกมาช่วยเท่านั้นเมืองที่เป็นประเทศราชครั้งสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราชสันนิฐานตามประวัติศาสตร์ มีดังนี้
     ทางทิศใต้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
     ทางทิศตะวันตก เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
     ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองน่าน เมืองเซ่า(คือเมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ
สภาพเศรษฐกิจและสังคม
 ลักษณะทางเศรษฐกิจ
     อาณาจักรสุโขทัยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตรเป็นหลัก    โดยมีการค้าและการทำ
เครื่องสังคมโลกเป็นส่วนประกอบสำคัญ  จากหลักฐานต่าง ๆ เท่าที่ได้ค้นพบและศึกษาค้นคว้ากันมา
เศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยน่าจะมีเพียงแค่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น    มิได้มีความมั่งคั่ง
อุดมสมบูรณ์มากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา   ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งของอาณาจักร
สุโขทัยไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกและการเป็นศูนย์การค้ามากเท่ากับอาณาจักรอยุธยาซึ่งมีอาณาบริเวณ
อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง  สภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่อุดมสมบูรณ์มากนี้เป็นสาเหตุ
ประการหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่สามารถมีอำนาจทางการเมืองอยู่ได้เป็นเวลานาน

 สังคมการเกษตร
     การเกษตรอาณาจักรสุโขทัยมีสภาพพื้นที่ราบที่ใช้ในการเพาะปลูกแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น
2 ลักษณะ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเชิงเขา บริเวณที่ราบลุ่มที่สำคัญ  คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและ
แม่น้ำ ซึ่งมีอาณาบริเวณตั้งแต่อุตรดิตถ์ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย เรื่อยลงมาจนถึงนครสวรรค์พื้นที่แถบนี้
มีลักษระเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่และเนื่องจากลำน้ำยมและลำน้ำน่านมีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลบ่า
มาจากภูเขาทางภาคเหนือ ทำให้การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่ทันยังผลให้มีน้ำท่วม
ที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านนี้ ซึ่งบริเวณนี้ควรจะทำการเพาะปลูกได้ดีนี้กลับได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
และทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร  เป็นพื้นที่ดอน  ดินไม่ใคร่อุดม
สมบูรณ์   จึงทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลดีนักจากสภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น   ทำให้เกษตรใน
อาณาจักรสุโขทัยต้องใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยด้วยจุดประสงค์ 2 ประการ คือ  เพื่อควบคุมน้ำ
ที่ไหลบ่ามาจากบริเวณภูเขา  และน้ำที่ล้นมาตามลำน้ำต่างๆ ให้ไหลไปตามแนวทางควบคุมบังคับที่
ทำไว้หรือมิฉะนั้นก็เพื่อเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขาแล้วขุดคลองระบายน้ำเข้าไปในพื้นที่ที่ทำการ เพาะ
ปลูกเขื่อนเก็บกักน้ำที่สร้างขึ้น   เพื่อประโยชน์ทางชลประทานในสมัยสุโขทัยคือเขื่อนสรีดภงด์  หรือ
ทำนบพระร่วงเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่สร้างอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย นอกจาก
ทำนบเก็บกักน้ำแล้วยังมีการสร้างเหมืองฝายและขุดคูคลองส่งน้ำเป็นแนวยาวตั้งแต่ศรีสัชนาลัยผ่าน
สุโขทัยออกไปถึงกำแพงเพชรด้วยระบบชลประทานดังกล่าวข้างต้นทำให้ผืนดินโดยรอบเมืองสุโขทัย
พื้นที่ระหว่าง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย และกำแพงเพชร  เป็นผืนดินอันกว้างใหญ่ที่ใช้ทำการเพาะปลูกได้
อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย

     สุโขทัย ตั้งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่อยู่ห่างจากนครธม
หรือ พระนครหลวงราชธานีของอาณาจักรเขมรมากพอควรอำนาจทางการเมืองของเขมรที่แผ่มาถึง
อาณาบริเวณนี้ จึงมีไม่มากเท่ากับทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึงมีโอกาส
ที่จะก่อร่างสร้างอาณาจักรได้มากกว่า   และได้ก่อนกลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
นอกจากนั้น   ในช่วงระยะที่ชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากำลังแผ่ขยายตัวและ
เริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นนั้น ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่
องค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร   พระองค์ทรงมีนโยบายแผ่ขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือของอาณา
จักรด้วยการทำสงครามกับอาณาจักรจามปา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ
    
การที่ต้องพะวงกับการทำสงคราม  ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยควบคุมดูแลดินแดนทางแถบ
ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่ออาณาจักรเขมรในแง่ยุทธศาสตร์เพราะ
สามารถเข้าถึง   กรุงยโสธรหรือนครธมเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรได้อย่างง่ายดายทำให้พระเจ้า
ชัยวรมันที่ทรงไม่สามารถจัดการกับการแผ่ขยายบทบาททางการเมืองของชนชาติไทยในเขตตอน
บนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่   เมื่อไม่มีทางเลือกพระองค์ก็ต้องทรงสนับสนุนการก่อร่าง
สร้างเมืองของคนไทยกลุ่มนี้ในฐานะผู้ใหญ่ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้น้อย  เพื่อผูกพันบ้านเมืองที่กำลัง
จะเริ่มเติบโตให้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเขมรในลักษณะของผู้ที่พึ่งพิง  ดังจะเห็นได้จากการที่
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7    พระราชทานพระขรรค์ชัยศรีพระนามกมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์และ
พระราชธิดาชื่อพระนางสุขรเทวี แก่พ่อขุนผาเมืองนอกจากนั้น  เมื่อพิจารณาจากการวางผังเมืองและ
การวางระบบชลประทานเพื่อนำน้ำมาใช้ในเมืองสุโขทัยแล้ว   กล่าวได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่7  ทรงมี
ส่วนในการพระราชทานทรัพย์สิน สิ่งของและช่างฝีมือแก่ผู้นำของคนไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำ
เจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือให้การสร้างเมืองสุโขทัยบรรลุผลสำเร็

    
 หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7   อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก การเมืองไม่มีเสถียรภาพมี
ความวุ่นวายเกิดขึ้นบ่อยครั้งการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรเขมร   ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์อำนาจ
ทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง
สุโขทัยซึ่งได้ก่อร่างสร้างเมืองมาแล้วเป็นอย่างดีจึงสามารถก่อตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาได้ในช่อง
ว่างแห่งอำนาจนี

    
การขยายอาณาเขตในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาศัยกำลังทางทหารและการสร้างความสัมพันธ์
ทางเครือญาติ   อย่างไรก็ตาม     เนื่องจากไม่มีการจัดระบบการปกครองที่รัดกุมในการควบคุมดูแล
ดินแดนที่ได้มา    ทำให้บรรดาหัวเมืองชั้นนอกมีอิสระในการปกครองอย่างมากการที่อาณาจักรยังคง
ดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้นำ ดังนั้นเมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระมหากษัตริย์
ที่ครองราชย์สืบต่อมาไม่มีความสามารถเท่ากับพระองค์   อาณาจักรจึงแตกสลายออกเป็นเสี่ยงๆและ
แตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย  ครั้นถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชราที่ 1  (พ.ศ.-
1890  -  1912) พระองค์ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกออกโดยใช้ศาสนาพุทธเป็น
เครื่องมือในการเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้ให้กลับเข้ามารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยอีกครั้งหนึ่งแต่พระเจ้า
ลิไทก็ทรงประสบความสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น

    
ในปี  พ.ศ.1921  สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยา อยู่ประมาณ10 ปีจึงสมารถกลับมาเป็นอิสระอีกครั้งในปี พ.ศ.1931และได้เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยาบาลและพระยารามพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่3จึงเปิดโอกาสให้อยุธยาเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในทำให้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้งหนึ่งโดยในครั้งนี้อยุธยาได้แบ่งอาณาจักรของสุโขทัยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมี เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสำคัญและอยู่ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่อีก ส่วนหนึ่งมีเมืองกำแพงแพชร เป็นเมืองศูนย์กลาง
     สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่  2   ได้ทรงสถาปนาให้พระราเมศวรพระราชโอรสซึ่งทรงมีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทางฝ่ายพระราชมารดาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา   ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา

การปกครองสมัยอยุธยากรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
มหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฎว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฎ
กรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศ
อิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย
การเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)
ลักษณะการปกครองสมัยอยุ
การปกครองแบบจตุสดมภ์
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่
1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุง ระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี 4 คนคือ ขุนเมือง  ขุนวัง  ขุนคลัง  ขุนนา    พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ กฏหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น
     ขุนเมือง
ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนันในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาลและคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง
     ขุนวัง
ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดาข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไปมีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่าราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
     ขุนคลัง
ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าในพระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาลซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง
     ขุนนา
มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าว
ขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็นผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ
สภาพเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
     การเกษตร
     ตั้งแต่แรกก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีในด้านการค้าขายกับต่างประเทศ และยังมีความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรอีกด้วย เพราะอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างยิ่ง และพืชที่เพาะปลูกกันมากก็คือ ข้าว ความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตรทำให้อยุธยาสมารถผลิตอาหารเลี้ยงผู้คนได้เป็นจำนวนมาก
  แต่การเกษตรของอยุธยายังเป็นการเกษตรแบบพอยังชีพ กล่าวคือใช้เทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลักใหญ่ ด้านการชลประทานนั้นรัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมแต่อย่างใดการขุดคลองต่างๆ ก็เพื่อสนองความต้องการทางด้านยุทธศาสตร์การคมนาคมและการระบายน้ำที่ท่วมตอนหน้าน้ำเท่านั้น มิได้ขุดเพื่อผลประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมโดยตรงแม้ว่ารัฐบาลในสมัยอยุธยาตอนต้น  จะไม่ได้ส่งเสริมการเกษตรมากนัก  แต่สภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินทำให้อยุธยาสามารถผลิตอาหารเลี้ยงดูผู้คน ได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นรากฐานสำคัญอย่างหนึ่งของการเสริมสร้าง
และแผ่ขยายอาณาจักรการเกษตร  จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจอยุธยามาตลอดระยะเวลา 417 
 การค้ากับต่างประเทศ
     ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.
1893-1991) การค้ากับต่างประเทศที่มีอยู่เป็นการค้าสำเภากับจีน  ญี่ปุ่น  อาหรับ  มลายู  อินเดียชวาและฟิลิปปินส์  แต่อยุธยามีการติดต่อค้าขายกับจีนมากที่สุด การค้าสำเภาส่วนใหญ่ในสมัยนี้เราดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์เจ้านายและขุนนางมีการค้าของเอกชนบ้าง การค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาตอนต้นจึงเป็นการผูกขาดกลาย ๆ หรือโดยทางอ้อม แต่ระดับของการผูกขาดยังมีไม่มากรูปแบบการค้าเสรียังมีอยู่พ่อค้าต่างชาติยังสามารถติดต่อค้าขายกับราษฎรและพ่อค้าชาติอื่น ๆ ที่อยู่ในอยุธยาได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐบาลคือพระคลังสินค้า เหมือนดังเช่นในสมัยหลัง  กล่าวโดยสรุปการค้ากับต่างประเทศ  นับเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาและเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐ กล่าวคือหากรัฐบาลเป็นผู้ประกอบการค้าเองก็จะได้ผลกำไรแต่ถ้าไม่ได้ค้าขายเองก็จะได้ภาษีซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออก
  รายได้ของรัฐ
สันนิฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนต้น รัฐบาลคงมีรายได้ประเภทต่าง ๆ ดังตอ่ไปนี้
     จังกอบ
คือ ค่าผ่านด่านขนอน ทางบกทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าของราษฎรโดยเก็บชักส่วนสินค้าไว้ในอัตรา
1 ชัก 10หรือเก็บเป็นเงินตามอัตราขนาดยานพาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน
     อากร
คือ การเก็บชักส่วนผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพอื่นๆ ที่มิใช่การค้าขายโดยตรง เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผู้ที่ทำนาจะเสียหางข้าวให้แก่รัฐและจะต้องนำมาส่งเอง หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่นอนุญาตให้เก็บของป่า จับปลาในน้ำ และต้มกลั่นสุรา เป็นต้น อัตราคงที่ประมาณ
1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้
     ส่วย
คือ เครื่องราชบรรณาการที่ได้จากประเทศราช
     ฤชา
คือ เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเฉพาะรายในกิจการที่ทางราชการจัดให้เช่นการออกโฉนดตราสารหรือเงินปรับไหมที่ฝ่ายแพ้คดีจะต้องชดใช้ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐบาลจะเก็บให้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา ซึ่งเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า
"เงินพินัยหลวง" รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไร ภาษีสินค้าขาเข้า และภาษีสินค้าขาออก
 สภาพสังคม
ลักษณะทางสังคมของอยุธยาประกอบด้วยชนชั้นต่างๆตั้งแต่จุดสุดยอดถึงพื้นฐานของ
สังคม 6 ชนชั้น คือ

     1. พระมหากษัตริย์ ทรงมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศทุกด้านเช่นในทางการเมืองทรงเป็นเจ้าชีวิตและเป็นประมุขของอาณาจักรและมีอำนาจเหนือชีวิตของทุกคนในสังคม  ในทางสังคมทรงเป็นผู้นำสังคม และเป็นองค์อุปถัมภ์ของศาสนาพุทธในแง่สถาบันพระมหากษัตริย์จะอยู่ในฐานะแตกต่างจากสุโขทัย เพราะอยุธยาเป้นอาณาจักรที่กว้างขวาง  จึงต้องเป็นสถาบันที่เข้มแข็งเป็นที่เกรงขามของประชาชน   ด้วยเหตุนี้อยุธยาจึงรับคติเทวราชาเข้ามา   ทำให้กษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้า
     2. เจ้านาย ประกอบด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและเชื้อพระวงศ์พวกเจ้านายที่จะช่วยเหลือราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์มีบัญชา ซึ่งยศของเจ้านายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
         สกุลยศ เป็นยศที่เจ้านายแต่ละองค์ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด
        อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานเรื่องจากได้รับราชการแผ่นดิน
     3. ขุนนาง ชนชั้นสูงที่รับราชการกับพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นชนส่วนน้อยในสังคมที่มีโอกาส เข้ารับราชการมักเป็นสังคมปิดเนื่องจากมีการสืบทอดตำแหน่งในวงศ์ตระกูลแลแหล่งที่มาของอำนาจ ขุนนางคือ กำลังคนที่อยู่ในความควบคุม ที่เรียกกันว่า ไพร่หลวง
     4. พระสงฆ์ คือบุคคลที่บวชในพุทธศาสนาทุกคนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างชนชั้นปกครองกับพวกไพร่หรือสามัญชน พระสงฆ์ประกอบด้วย สมาชิก 2 พวก  คือ พวกที่บวชตลอดชีวิตและพวกที่บวชชั่วคราวซึ่งชนชั้นไหนก็สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้
     5. ไพร่ เป็นเสรีชนที่ต้องให้แรงงานแก่รัฐบาลและถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือเจ้านาย ซึ่งรวม
เรียกว่ามูลนาย ไพร่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของสังคม มีประมาณ 80-90% ของคนในสังคมอยุธยา

     6. ทาส คือ ชนกลุ่มน้อยของสังคมที่ได้จากการกวาดต้อนผู้คนของเมืองที่แพ้สงครามหรือไพร่ที่
ขายตัวเมื่อยากจนลง ทาสสมัยอยุธยาแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได 2 ประเภท คือ

          - ทาสที่สามารถซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่
          - ทาสที่ซื้ออิสรภาพอขงตนเองไม่ได้ คือ ทาสเชลยศึกหรือลูกทาสเชลย
     การเลื่อนชนชั้นในสังคมอยุธยาแม้ไม่มีกฏข้อห้ามในทางทฤษฎีว่าเลื่อนชั้นไม่ได้แบบอินเดีย
แต่ในทางปฏิบัติ มักจะทำได้ยากเพราะขุนนางย่อมไม่สนับสนุนไพร่ให้เข้ารับราชการซ้ำยังกีดกันเพราะ
อำนาจ อภิสิทธิ์ เกีรยติยศที่ขุนนางได้รับได้มาเพราะตำแหน่งราชการ   เมื่อออกจากราชการก็จะหมดทั้ง
อำนาจ อภิสิทธิ์และเกียรติยศ  จึงไม่สนับสนุนบุคคลอื่นให้เข้ารับราชการนอกจากลูกหลานของตนเอง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หลังการปฏิรูปการปกครองมีการเปลี่ยนแปลวทางสังคมที่สำคัญ 2 ประการ
คือ การขึ้นมามีอำนาจของชนชั้นขุนนาง และการรับวิทยาการจากตะวันตก การขึ้นมามีอำนาจของชนชั้นขุนนางได้กล่าวมาแล้วว่า รูปแบบการปกครองที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงปฏิรูปจัดขึ้นใหม่นั้น ใช้ระบบขุนนางเป็นเครื่องมือในการบริหารด้วยเหตุนี้หลังการปฏิรูปการปกครองชนชั้นขุนนางจึงมีอำนาจทางการเมืองเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม  อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่หลังการปฏิรูปการปกครองมาจนถึงช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี พ.ศ.2112  แม้ว่าชนชั้นขุนนางจะมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น แต่ก็ยังมิได้มีอำนาจถึงขีดสูงสุด

    
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมาหาราช (พ.ศ.2133-2148) ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือได้ยกเลิกการส่งเจ้านายบางพระองค์ไปปกครองหัวเมืองชั้นนอกเช่น เมืองพิษณุโลก ให้บรรดาเจ้านายประทับในเมืองหลวง  และให้พวกขุนนางเป็นผู้รับผิดชอบปกครองหัวเมืองทั้งหมด การปรับปรุงการปกครองครั้งนี้ ทำให้อำนาจของชนชั้นเจ้านายลดน้อยลงยิ่งกว่าเดิม  ส่วนอำนาจของชนชั้นขุนนางซึ่งเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่หลังการปฏิรูปการปกครองได้ทวีมากยิ่งขึ้นถึงขีดสูงสุด  จนขุนนางผู้ใหญ่ท่านหนึ่งสามารถตั้งตนเป็นพระมหากษัตริย์ได้ในปี พ.ศ.2172 ขุนนางผู้นั้นคือเจ้าพระยากลาโหม
สุริยวงศ์ผู้ซึ่งได้แย่งชิงราชสมบัติจากพระอาทิตย์วงศ์เยาวกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุโขทัย แล้วตั้งตนเองขึ้น
เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง(พ.ศ.2172-2199)

กล่าวได้ว่าตลอดระยะเวลาสี่ร้อยปีเศษของประวัติศาสตร์อยุธยา ปัญหาการเมืองการปกครองข้อหนึ่งที่อยุธยาประสบอยู่ตลอดเวลาคือการถ่วงดุลอำนาจชนชั้นเจ้านายและชนชั้นขุนนางให้อยู่ในดุลที่เหมาะสม  ให้เจ้านายและขนนางคานอำนาจกันเอง   เพื่อจะได้ไม่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์ซึ่งเป็นสิ่งที่
กระทำได้ยากยิ่ง ในสมัยอยุธยาตอนต้นก่อนการปฏิรูปการปกครองเจ้านายผู้ครองเมืองลูกหลวง เมือง
หลานหลวง มีอำนาจทางการเมืองมากก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติทุกครั้งที่โอกาสอำนายให้
เมื่อแก้ปัญหาด้วยการลดอำนาจของเจ้านายลงชนชั้นขุนนางก็มีอำนาจเพิ่มมากขึ้นแต่เมื่อไม่มีมาตรการ
ควบคุมอำนาจที่ดีก็เปิดโอกาสให้ชนชั้นขุนนางเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติได้เช่นกันการรับวิทยาการจาก
ตะวันตก
 หลังการปฏิรูปการปกครอง ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรตุเกสได้เข้ามาเจริญสัมพันธ
ไมตรีทางด้านการค้ากับอยุธยาในปีพ.ศ.2054 การเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกทำให้อยุธยาได้รับวิทยาการ
สมัยใหม่ในด้านการสงครามจากโปรตุเกส เช่น การทำปืนใหญ่ การหล่อกระสุนดำและการสร้างป้อม
แบบฝรั่ง  นอกจากนั้นยังมีการจ้างทหารโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารอาสาในกองทัพอยุธยาด้วยอย่างไร
ก็ตามมีข้อน่าสังเกตว่า  อยุธยาสนใจที่จะรับวิทยาการจากตะวันตกเฉพาะในด้านการสงครามเท่านั้น
ไม่สนใจวิทยาการทางด้านอื่นๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์เรื่องโลกกลม  และเรื่องระบบสุริย
จักรวาล ความรู้ทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น การมีอาวุธที่ทันสมัยทำให้อยุธยามีอำนาจทางด้านการทหารมากยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองออกไปในดินแดนอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลจากอยุธยาเช่นยกกองทัพไปโจมตีเมืองมะริดตะนาวศรีในดินแดนมอญทางด้านตะวันตกส่วนทางด้านทิศใต้อยุธยาได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีมะละกาในแหลมมลายู
อาณาเขต      กรุงศรีอยุธยา ที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงก่อตั้งในปี พ.ศ.1893 นั้นมีทำเลที่ตั้งที่ดีมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และในด้านการค้า กล่าวคือ ตัวเมืองอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 ด้าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางด้านเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันตกและด้านใต้ ดังนั้นเพียงแต่ขุดลำคูขื่อหน้าทางด้านตะวันออกเชื่อมแม่น้ำเหล่านั้น อยุธยาก็กลายเป็นเมืองเกาะที่มีลำน้ำรอบครบทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเช่นนี้นับเป็นปราการธรรมชาติอันมั่นคงช่วยป้องกันการโจมตีของข้าศึกเป็นอย่างดี นอกจากนั้นการตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มทำให้ช่วงระยะระหว่าง เดือนกันยายน - ธันวาคมของทุกปี จะมีน้ำหลากท่วมรอบกรุงศรีอยุธยาเป็นบริเวณกว้าง เท่ากับเป็นการบังคับให้ฝ่ายข้าศึกมีโอกาสล้อมโจมตีกรุงศรีอยุธยาได้เพียงปีละ 8 เดือนเท่านั้นและเมื่อล้อมอยู่ถึงหน้าน้ำหลากแล้ว ก็จำต้องยกทัพกลับไปโดยปริยาย
ทำเลที่ตั้งเช่นนี้นอกจากจะให้ผลดีในด้านยุทธศาสตร์แล้วยังทำให้อยุธยา สามารถติดต่อค้าขายกับอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไป เช่นสุโขทัยได้สะดวกโดยอาศัย แม่นำเจ้าพระยาและสาขา นอกจากนั้นการที่อยุธยาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำที่ลึกเข้าไป ในผืนแผ่นดินแต่ก็ไม่ไกลจากปากน้ำจนเกินไป   จึงทำให้อยุธยาสามารถติดต่อ ค้าขายทางเรือกับต่างประเทศได้อย่างสะดวก รวมทั้งสามารถทำหน้าที่เป็นพ่อค้า คนกลางติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้าจีน ญี่ปุ่น กับพวกพ่อค้าต่างชาติอื่นๆ อยุธยา จึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
นอกจากทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และด้านการค้า แล้วมีข้อน่าสังเกตว่าตั้งแต่แรกก่อตั้งอาณาจักร อยุธยามีพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านกำลังทางทหารซึ่งพื้นฐานที่ดีทั้ง 3 ประการนี้มีส่วนอย่างมากในการช่วยเกื้อหนุน ให้อยุธยาสามารถพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองสร้างความเป็นปึกแผ่นได้อย่างรวดเร็ว จนก้าวเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งทางตอนบนและตอนล่าง

ปกครองสมัยกรุงธนบุรี

1. สภาพสังคมชีวิตความเป็นอยู่ถือได้ว่ามีการควบคุมกันอย่างเข้มงวดเพราะบ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะสงคราม ต้องสู้รบกับพม่าข้าศึกอยู่ตลอดเวลานอกจากนี้ยังมี การเกณฑ์พลเรือนเข้ารับราชการทั้งนี้เพิ่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนีการเกณฑ์แรงาน
     2. การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมรัชสมัยของพระเจ้าตากแม้จะไม่ยาวนานนักแต่ก็ยังได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอันมากที่สำคัญมีดังนี้
  2.1 ด้านศาสนา พระเจ้าตากทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนาอย่างมั่นคงทรงให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของสงฆ์ทั้งหมดรูปใดที่ประพฤติไม่ดีให้ศึกออกไปพระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างอุโบสถ และทรงคัดลอกพระไตรปิฎกที่นำมาจากวัดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี 2312
  2.2 ด้านศิลปวัฒนธรรม พระเจ้าตากทรงมีภารกิจมากมายโดยเฉพาะการสร้างบ้านเมืองการป้องกันประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงทำให้ผลงานในด้านนี้จึงไม่เด่นชัด สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ บรรดาช่างฝีมือและช่างศิลป์ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก ช่างที่มีอยู่ก็เป็นช่างฝึกหัดไม่อาจเทียบเท่าช่างในอยุธยาได้ ผลงานที่มีคือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวรราม) และด้านก่อสร้างได้แก่ การสร้างพระราชวังป้อมปราการ เชิงเทิน ขาดความสวยงาม ส่วนทางด้าน วรรณกรรมมีผลงานสำคัญคือ รามเกียรติ์ เป็นต้น
  2.3 ด้านนาฏศิลป์ มีการฟื้นฟูและเล่นฉลองในงานพิธีสำคัญตามแบบประเพณีสมัยอยุธยาดังเห็นได้จากพิธีสมโภชพระแก้วมรกตและพระบางซึ่งสมเด็จเจ้า พระยามหากษัตริย์ศึกได้อันเชิญมาจากเวียงจันทร์เพื่อประดิษฐานที่กรุงธนบุรีซึ่งในครั้นนั้นมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ใช้เวลา 7 วันมีการประชันการแสดงละครแสโขน การเล่นมโหรีพิณพาทย์ การเล่นบทดอกสร้อยสัดวาฯ
  2.4 ด้านการศึกษา ในสมัยธนบุรียังคงอยู่ที่วัดเหมือนเมื่อสมัยอยุธยานั้นคือการเรียนที่วัดมีพระสอนหนังสือและยังคงใช้แบบเรียนจินดามณีซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องวิธีแต่งกาพย์กลอน ศึกษาศัพท์เขมร บาลีสันสฤตด้วยเพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกนั้นก็เป็นวิชาเลขซึ่งนำใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับวิชาชีพพ่อแม่มีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นให้แก่ลูกหลาน เช่น วิชาแพทย์โบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปั้นปูน ช่างเหล็กฯ ส่วนเด็กหญิงถือตามประเพณีโบราณคือ การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว และการฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือจึงมีน้อยคนนักที่อ่านออกเขียนได้
การเมืองการปกครองและพัฒนาการด้านต่าง ๆ สมัยกรุงธนบุรี
ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระยาวชิรปราการตีฝ่าวงล้อมพม่าเดินมุ่งหน้าไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก และได้รวมผู้คนที่อยู่ในบริเวณนี้ตั้งเป็นชุมนุมโดยยึดเมืองจันทบุรีเป็นฐานทัพ ให้ต่อเรือเตรียมไว้ จนกระทั่งเมื่อสิ้นฤดูมรสุม สมเด็จพระเจ้าตา (สิน) จึงเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ธนบุรีและค่ายโพธิ์สามต้นที่อยุธยา และสามารถยึดค่ายนี้ได้ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถยึดธนบุรี และกรุงศรีอยุธยา คืนจากพม่าได้ ทำให้พระองค์มีความชอบธรรมในการสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์ จึงได้ทรงสถาปนาธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีในปีเดียวกันการสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานีเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกสารของชาติได้แล้ว ปัญหาสำคัญของไทยในขณะนั้นคือ การป้องกันตนเองให้พ้นจากการโจมตีโดยพม่า และหาอาหารให้พอเลี้ยงผู้คนที่มีชีวิตรอดจากสงคราม แต่สภาพอยุธยาอยุธยาขณะนั้นไม่อาจบูรณะฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วด้วยกำลังคนเพียงเล็กน้อย อีกทั้งพม่าได้รู้ลู่ทางและจุดอ่อนของอยุธยาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นพระองค์จำเป็นที่จะต้องหาชัยภูมิที่เหมาะ ในการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่คือ กรุงที่ได้รับพระราชทานนามว่ากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรกรุงธนบุรีตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองบางกอกเดิมซึ่งในสมัยอยุธยา เมืองบางกอกมีฐานะเป็นเมืองท่าหน้าด่านคือ เป็นที่จอดเรือสินค้า และเป็นเมืองหน้าด่านทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกษาที่ยกทัพเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยารวมทั้งตรวจตราเก็บภาษีเรือและสินค้าที่ขึ้นล่องตามลำน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บางกอกจึงมีป้อมปราการ และ มีด่านภาษีเป็นด่านใหญ่ที่เรียกว่า ขนอนบางกอก เมืองบางกอกจึงมีชุมชนชาวต่างชาติ เช่น ชุมชนชาว จีน อินเดียมุสลิม ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายและเป็นทางผ่านของนักเดินทาง เช่น นักการทูต พ่อค้า นักการทหาร และนักบวชที่เผยแผ่ศาสนา รวมทั้งนักเผชิญโชคที่ต้องการเดินทางไปยังอยุธยาดังนั้นโดยพื้นฐานที่ตั้งของธนบุรีจึงอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ของปากน้ำเจ้าพระยาและเป็นเมืองที่มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจมาก่อนตลอดจนเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย เพราะมีทั้งป้องปราการและแม่น้ำลำคลองที่ป้องกันไม่ให้ข้าศึกษาโจมตีได้โดยง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวังเป็นที่ประทับ โดยสร้างพระราชวังชิดกับกำแพงเมืองทางใต้ มีอาณาเขตตั้งแต่ป้องวิชัยประสิทธิ์และวัดท้ายตลาดมาจนถึงวัดแจ้ง วัดทั้งสองจึงเป็นวัดในเขตพระราชฐาน สำหรับวัดแจ้งนั้นมีฐานะเป็นพระอารามหลวงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองให้มีความเป็นปึกแผ่น โดยชักชวนให้ผู้คนที่หลบหนีสงครามกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ให้กลับมาตั้งบ้านเรืองใหม่ พร้อมทั้งฟื้นฟูระบบระเบียบในการบริหารราชการแผ่นดินตามแบบสมัยอยุธยาการปกครองหัวเมืองในสมัยธนบุรียศของผู้ปกครองเมือง- การปกครองหัวเมืองชั้นใน- การปกครองหัวเมืองชั้นนอก- การปกครองเมืองประเทศราชผู้รั้งเมืองเจ้าพระยาผู้ครองนครพัฒนาการด้านเศรษฐกิจในตอนต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาวะทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างหนักทั้งนี้เพราะราษฎรมิได้ทำนาในระหว่างการศึกสงครามแม้ว่าภายหลังจากที่พระองค์กู้เอกราชได้แล้ว การทำนาก็ยังไม่ได้ผล เพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ในการขจัดปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ ทรงรับซื้อข้าวจากพ่อค้าจากเรือสำเภาพัฒนาการด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำ คนไทยร่วมแรงร่วมใจสร้างความเป็นเอกภาพให้กับบ้านเมืองอยู่นั้น คนไทยยังมีความกังวลที่จะรักษาชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย ดังนั้นความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยธนบุรี จึงมีลักษณะการทำสงครามตลอดสมัย ทั้งสงครามป้องกันอาณาจักรและขยายอาณาเขต ตลอดจนความสัมพันธ์ทางด้านสังคมสมัยธนบุรีคล้ายกับสังคมอยุธยา คือ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยกลุ่มคนคือกลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนางกลุ่มชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาสกลุ่มชนชั้นพิเศษ ได้แก่ นักบวช เช่น พระสงฆ์ และพราหมณ์
                                             การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี    มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย  ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อนวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทย
ประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา   เมืองขึ้นของชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือพระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง   จึงได้ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน
     การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัปมาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ    การปกครองดังกล่าวต่อไปลักษณะการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์
การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึง
รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยโดยมีมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด
การปกครอง คือ
    
1.มูลเหตุของการปรับปรุงการปกครอง
    
เนื่องจากในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์บ้านเมืองได้ผันแปร
แตกต่างกว่าเดิมเป็นอันมาก  ทั้งความเจริญของบ้านเมืองก็เป็นเหตุให้ข้าราชการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น
ลำดับลักษณะการปกครองที่ใช้มาแต่เดิมนั้นย่อมพ้นความต้องการตามสมัยสมควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "..การปกครองบ้านเมืองของเราซึ่งเป็นไปในปัจจุบันนี้  ยังไม่เป็นวิธีการปกครองที่จะให้การทั้งปวง เป็นไปโดยสะดวกได้แต่เดิมมาแล้วครั้นเมื่อล่วงมาถึงปัจจุบันบ้านเมืองยิ่งเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่าการปกครองอย่างเก่านั้นก็ยิ่งไม่สมกับความต้องการของบ้านเมืองหนักขึ้นทุกทีจึงได้มีความประสงค์อันยิ่งใหญ่ ที่จะแก้ไขธรรมเนียมการปกครองให้สมกับเวลาที่เป็นการเจริญแก่บ้านเมือง......" ประกอบด้วยในรัชกาลของพระองค์นั้นเป็นระยะเวลาที่ลัทธิจักรวรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมาทางตะวันออกไกล ด้วยนโยบาย   Colonial agrandisement    ประเทศมหาอำนาจตะวันตกเช่นอังกฤษและฝรั่งเศสได้ประเทศข้างเคียงรอบๆ ไทยเป็นเมืองขึ้น  และทั้งสองประเทศยังมุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศไทยดังเช่นที่ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสที่ไทยยังไม่มีระบบการปกครองที่ดี และรักษาอาณาเขตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้อ้างวิธีการสำรวจทางวิชาการซึ่งเรียกว่า  "Scientific expedition"  เป็นเครื่องมือโดยอาศัยปัญหาเรื่องชายแดนเป็นเหตุ กล่าวคือ เมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนญวน แล้วได้ตั้งเจ้าหน้าที่ของตนออกเดินสำรวจพลเมืองและเขตแดนว่ามีอาณาเขตแน่นอนเพียงใด และเนื่องจากเขตแดนระหว่างประเทศไทยมิได้กำหนดไว้อย่างแน่นนอนรัดกุม จึงเป็นการง่ายที่พวกสำรวจเหล่านั้นจะได้ถือโอกาสผนวกดินแดนของ
ไทยเข้าไปกับฝ่ายตนมากขึ้นทุกที ด้วยเหตุดังกล่าวประเทศไทย  จึงจำเป็นต้องปรับปรุงการปกครองบ้าน
เมืองให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเหตุดังกล่าว มูลเหตุอีกประการหนึ่งของการปรับปรุงการปกครองก็คือ พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะยกเลิกขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นการกดขี่กันหรือก่อให้เกิดความอยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรซึ่งมีอยู่นั้นเสีย   ขนบธรรมเนียมดังกล่าวได้แก่การมีทาสการใช้จารีตนครบาลในการพิจารณาความพระราชประสงค์ของพระองค์ในเรื่องนี้ ปรากฏในพระราชปรารภว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุตอนหนึ่งว่า  "ข้าพเจ้ามีความปรารถนาว่าการสิ่งไรซึ่งเป็นการเจริญมีคุณแก่ราษฎรควรจะเป็นไปทีละเล็กทีละน้อยตามกาลเวลา การสิ่งไรที่เป็นธรรมเนียมบ้านเมืองมาแต่โบราณแต่ไม่เป็นยุติธรรมก็อยากจะเลิกถอนเสีย" นอกจากนี้พระราชประสงค์ของพระบาทสทเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในอันที่จะทรงนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการปกครองประเทศ เช่น ได้ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Councilof state)ประกอบด้วยเหล่าสมาชิกตั้งแต่ 10 - 20 นาย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประธานสภาและได้ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy council)ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกสุดแต่พระประสงค์ซึ่งต่อมาใน ปีร.ศ.113 ได้ทรงยกเลิกสภาที่ปรึกษาและจัดตั้งคณะรัฐมนตรีสภาขึ้นแทน อันประกอบด้วยเสนาบดีหรือผู้แทนทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่า 12 คน อนึ่งการเริ่มให้มีการปกครองท้องถิ่นก็เป็นมูลเหตุสำคัญกับผู้ที่ประการหนึ่งที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยของพระองค์ เนื่องจากในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีฝรั่งชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรีกับประเทศไทยหนังสือสัญญาที่ทำขึ้นนั้นได้ยอมให้ฝรั่งมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือยอมให้ฝรั่งตั้งศาลขึ้นเรียกว่าศาลกงศุลขึ้นพิจารณาความของคนในบังคับของตนได้อันเป็นการไม่ยอมอยู่ใต้บังคับบัญชาของกฏหมายไทย ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าฝรั่งถือว่ากฏหมายและวิธีพิจารณาความของประเทศไทยยังไม่มีระเบียบแบบแผนดีพอการที่ฝรั่งต่างประเทศมีศาลกงศุลพิจารณาความของคนในบังคับของตนนั้นทำให้ประเทศไทย มีความยุ่งยากทางการปกครองเกิดขึ้นเสมอ จึงทรงมีพระราชประสงค์จะปรับปรุงการศาลยุติธรรมและกฏหมายของประเทศให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นที่เชื่อถือแก่ต่างประเทศเพื่อขจัดความยุ่งยากอันเกิดจากสิทธิสภาพนอกอาณาเขต จึงได้มีการปรับปรุงด้านตุลาการครั้งใหญ่ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย นอกจากนี้มีผู้รู้ คือ วรเดช จันทรศร ได้สรุปถึงปัญหาที่สยามประเทศเผชิญอยู่ในขณะนั้นที่เป็นเงื่อนไขความจำเป็นที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่รวม 7 ประการ ได้แก่
1. ปัญหาความล้าหลังของระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่มีรูปแบบของการจัดที่ทำให้เอกภาพ
ของชาติตั้งอยู่บนรากฐานที่ไม่มั่นคงระบบบริหารล้าสมัยขาดประสิทธิภาพมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนและสับสนการ
ควบคุมและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่สามารถทำได้ทำให้ความมั่นคงของประเทศอยู่ในอันตรายและยังเปิดโอกาสให้จักรรดิ์นิมยตะวันตกสามารถเข้าแทรกแซงได้โดยง่าย
2. ระบบบริหารการจัดเก็บภาษีอากรและการคลังของสมายประเทศ มิได้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา
ปรับปรุงบ้านเมืองและเสริมสร้างพระราชอำนาจให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เนื่องจากขาดหน่วยงานกลางที่จะควบคุมดูแลการจัดเก็บรักษาและใช้เงินรายได้แผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของเจ้าพนักงานขุนนางผู้ดูแลการจัดเก็บภาษีรัฐ และเจ้าภาษีนายอากร ให้อยู่ในระเบียบกฏเกณฑ์ได้
3. การควบคุมกำลังคนในระบบไพร่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ไพร่เป็นฐานอำนาจทางการเมือง เพื่อ
ล้มล้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เกิดความไม่มั่นคงต่อพระราชบัลลังก์ เกิดการขาดเอกภาพใน
ชาติทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความล้าหลังไพร่ไม่สามารถสะสมทางเศรษฐกิจทั้งนี้ เพราะผลเนื่องมาจากการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวงของมูลนาย ยังเป็นการทำลายผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ และเกิดความเสียหายต่อสยามโดยรวม
4. ปัญหาการมีทาส ก่อให้เกิดการกดขี่และความไม่เป็นธรรมในสังคมเป็นเครื่องชี้ความป่าเถื่อน
ล้าหลังของบ้านเมืองที่มีอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศต่างชาติอาจใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ามาแทรกแซงของลัทธิล่าอาณานิคมที่จะสร้างความศิวิไลซ์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในชาติด้อยพัฒนา ในแง่เศรษฐกิจระบบทาสของสยามเป็นระบบใช้แรงงานที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคต่อการเป็นการพัฒนาคุณภาพกำลังคนในชาติ
5. ระบบทหารของสยามประเทศเป็นระบบที่ไม่สามารถป้องกันผลประโยชน์ และเกียรติของชาติ
ไว้ได้เป็นระบบที่ยึดถือแรงงานของไพร่เป็นหลักในการป้องกันพระราชอาณาจักรทำให้การควบคุมประชาชนในประเทศถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ทำให้สถานภาพของพระมหากษัตริย์และเอกภาพของชาติตั้งอยู่บนฐานที่ไม่มั่นคง ทำให้กองทัพขาดเอกภาพขาดระเบียบวินัยอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมรบไม่อำนวยให้เกิดการฝึกหัดที่ดีและการเรียกระดมเข้าประจำกองทัพล่าช้าทำให้ไม่ทราบจำนวนไพร่พลที่แน่นอน
6. ปัญหาข้อบกพร่องของระบบกฏหมาย และการศาลที่ล้าสมัยแตกต่างจากอารยะประเทศไม่เป็น
หลักประกันความยุติธรรมให้กับคนในชาติและชาวต่างชาติบทลงโทษรุนแรงทารุณการพิจารณา ล่าช้าคดีคั่งค้างไม่สามารถรองรับความเจริญทางการค้าพาณิชย์และสภาพสังคม ได้มีหน่วยงานในการพิจารณาคดีมากเกินไป เกิดความล่าช้าสังกัดของศาลแยกไปอยู่หลายกรมเกิดความล่าช้าและไม่ยุติธรรมระบบการรับสินบนฝังรากลึกมาแต่ในอดีตปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้สยามถูกกดดันทำให้เกิดความยากลำบากในการปกครองและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
7. ปัญหาด้านการศึกษาสยามประเทศก่อนปฏิรูปยังไม่มีระบบการศึกษาสมัยใหม่ไม่มีหน่วยงานที่จะรับ
ผิดชอบในการจัดการศึกษาโดยตรงการศึกษาจำกัดอยู่เฉพาะราชวงศ์ขุนนางชั้นสูงเกิดความไม่ยุติธรรม ทำให้โอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ลางเลือน ประเทศขาดคนที่มีคุณภาพเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศขาดพลังที่จะช่วยรักษาบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยอีกทั้งยังทำให้ต่างชาติดูถูกสยามประเทศว่ามีความป่าเถื่อน ล้าหลัง
การปรับปรุงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4
     ประเทศไทยในรัชกาลที่
4 ต้องประสบปัญหาเผชิญหน้ากับการขยายอิทธิพลของชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตก อันได้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มการปรับปรุงการปกครอง ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ทรงผนวชอยู่หลายปี ระหว่างที่ทรงผนวชอยู่นั้นพระองค์ได้เดินธุดงค์ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้ทรงทราบสภาพทั่วไปของอาณาจักรและพสกนิกรของพระองค์นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษาอังกฤษจากพวกมิชชันนารีที่เข้ามาสอนคริสต์ศาสนา ทำให้พระองค์ทรงอ่านและตรัสภาอังกฤษได้อย่างงดี จึงทรงรอบรู่กิจการนอกประเทศ และทรงทราบเหตุการณ์ที่ชาติตะวันตกได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในทวีปเอเชีย การปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สามารถพิจารณาได้ 2 ประการ คือ
     1. การปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดิน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการพยายามปรับปรุงระบบการบริหารโดยการแทรกระบบใหม่เข้าไปในระบบการบริหารเก่า ได้แก่ การพยายามใช้ระบบคุณธรรมเข้าแทนที่ระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการ เช่น ยึดหลักความสามารถของบุคคลในการรับราชการ โดยเฉพาะข้าราชการในกระทรวงยุติธรรม พระองค์ทรงสอบประวัติข้าราชการก่อนการแต่งตั้ง ซึ่งระบบการบริหารแบบใหม่นี้ทรงนำมาใช้ในการแต่งตั้งข้าราชการในเมืองหลวงและส่วนหัวเมือง โดนมีหลักเกณฑ์พิจารณาความรู้ ความสามารถ ประกอบกับชาติกำเนิดและความจงรักภักดีเป็นสำคัญ นอกจากนี้รัชกาลที่
4 ยังทรงกวดขันความประพฤติของข้าราชการทั้งในด้านการปกครองและความประพฤติส่วนตัว ในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 จึงปรากฏ การลงโทษเจ้านายและข้าราชการเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารประเทศ
     2. การทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจการเมือง เช่น โปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขระเบียบประเพณีบางอย่างที่ทรงเห็นว่าล่าสมัย และมีพระราชประสงค์ให้มีลักษณะแบบตะวันตกมากขึ้น เช่น ให้ขุนนางข้าราชการเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธรซึ่งว่าลง โดยพระองค์เป็นผู้ลงนามโปรดเกล้าฯเท่านั้น พระองค์ทรงดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับบรรดาขุนนางและข้าราชการสวมเสื้อ และให้ประชาชนถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันมากกว่าแต่ก่อน การปรับปรุงการปกครองในสมัยที่
4 เป็นความพยายามสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์อำนาจของสังคมไทย โดยการลดบทบาทของเจ้านายและขุนนาง และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับราษฎรทั่วไป นับเป็นการริเริ่มการรวมอำนาจเข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งจะสำเร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่  5
     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2411  มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  อำนาจการปกครองส่วนใหญ่อยู่ในมือของขุนนางสกุลบุนนาค  พระองค์จึงทรงพยายามที่จะรวมอำนาจมาที่สถาบันพระมหากษัตริย์  การแต่งตั้งวังหน้าในรัชสมัยของพระองค์ยังแสดงให้เห็นว่าอำนาจอยู่ในมือของขุนนางสกุลบุนนาค  เพราะเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เรียกประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ  พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ดำรงตำแหน่งวังหน้าโดยไม่คอยรับสนองพระบรมราชโองการตามประเพณี
รัชกาลที่ 5  ทรงตระหนักและทรงพยายามดึงอำนาจรวมศูนย์เข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์  เหตุการณ์วิกฤตการณ์วังหน้าใน พ.ศ. 2417  ได้เกิดการวิวาทขึ้นระหว่างฝ่ายวังหลวงกับฝ่ายวังหน้า  มีความรุนแรงถึงขนาดวังหน้าต้องเสด็จลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษ  เหตุการณ์คลี่คลายเมื่อวังหน้าทรงยอมลดพระราชอำนาจลง  และเสด็จไปประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล  จนเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. 2428
      ใน พ.ศ. 2413  หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ได้  2  ปี  รัชกาลที่ 5  ทรงวางรากฐานทางอำนาจด้วยการตั้ง กรมทหารมหาดเล็ก ขึ้นเพื่อสร้างฐานพระราชอำนาจของกษัตริย์  ในต้นปี พ.ศ. 2416  ได้ทรงออก พระราชบัญญัติหอรัษฎากรพิพัฒน์ รวมการเก็บภาษีเข้าสู่ศูนย์กลาง
     หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  รัชกาลที่ 5  เริ่มปฏิรูปการปกครองเพื่อรวมอำนาจเข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์  ด้วยการตราพระราชบัญญัติขึ้น  4  ฉบับ  การปฏิรูปก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายวังหลวงกับวังหน้า  รัชกาลที่ 5  จึงทรงต้องชะลอการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ จนกระทั่งกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทิวงคตใน พ.ศ. 2428  จึงทรงดึงอำนาจเข้าสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้
     ต่อมากลุ่มก้าวหน้า ร.ศ. 103  ได้นำความกราบบังคมทูลต่อรัชกาลที่ 5  ถวายความเห็น  ประเด็นสำคัญ คือ ได้เสนอให้ปรับปรุงการปกครองของประเทศให้เป็นแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ  คำกราบบังคมทูลของกลุ่มก้าวหน้า ร.ศ. 103  ที่ขอให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้น  รัชกาลที่ 5  ทรงเห็นว่าเมืองไทยขณะนั้นขัดสนคนมีความรู้  และยังไม่พร้อมที่จะปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ  สิ่งสำคัญสำหรับประเทศไทยไม่ใช่การเปลียนแปลงการปกครอง  แต่เป็นการปฏิรูปการบริหารราชการเพื่อให้ข้าราชการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  พ.ศ. 2417
2428  กลุ่มขุนนางเก่าเริ่มหมดบทบาททางการเมือง  ระหว่าง พ.ศ. 2418 2432  รัชกาลที่ 5  ทรงตั้งพระอนุชาหลายพระองค์ขึ้นทรงกรม  นอกจากนี้ในช่วงนี้ยังมีกำลังทหารมากขึ้น
     ในขณะที่ส่วนกลางที่กรุงเทพฯ  มีการปฏิรูปการปกครองนั้น  รัฐบาลได้เริ่มขยายอำนาจการปกครองไปยังหัวเมืองตามส่วนภูมิภาค  เพื่อรวมอำนาจสู่รัฐบาลกลางให้กระชับขึ้น  พยายามให้รัฐบาลใกล้ชิดกับหัวเมืองยิ่งขึ้น
     การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองเป็นนโยบายสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เพราะรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ  เริ่มเห็นความจำเป็นที่จะต้องรักษาเสถียรภาพทางชายแดนให้พ้นจากภัยคุกคามของมหาอำนาจ
     การปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เริ่มต้นประมาณ พ.ศ. 2430  ทรงตั้งกรมขึ้นใหม่  6  กรม  เมื่อรวมกับที่มีอยู่เดิมแล้ว  6  กรม  เป็น  12  กรม  ดังนี้ กรมมหาดไทย                    ปกครองฝ่ายเหนือและเมืองลาว
กรมพระกลาโหม                ปกครองฝ่ายใต้  ตะวันออก  ตะวันตก  และมลายู
กรมท่า                                   ดูแลการต่างประเทศ
กรมวัง                                   ดูแลในพระราชวังและกรมซึ่งรับราชการในพระองค์
กรมเมือง                               ว่าการตำรวจ  การบัญชีพล (สุรัสวดี)  และนักโทษ
กรมนา                                   ดูแลการเพาะปลูก  การค้าขาย  ป่าไม้  และบ่อแร่
กรมพระคลัง                        ดูแลภาษีอากร  เงินรับจ่ายในแผ่นดินทั้งหมด
กรมยุติธรรม                         จัดการศาล  ชำระความทั้งแพ่งและอาญา
กรมยุทธนาธิการ                 ตรวจตราจัดการในกรมทหารบก  ทหารเรือ
กรมธรรมการ                       จัดการศึกษาและการศาสนา
กรมโยธาธิการ                     ก่อสร้าง  ขุดคลอง  การช่างทั่วไป  การไปรษณีย์โทรเลข  การรถไฟ
กรมมุรธาธิการ                    รักษาพระราชลัญจกร  พระราชกำหนดกฎหมาย  และหนังสือราชการทั้งหมด
      ต่อมาใน พ.ศ. 2435  กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง  และใน พ.ศ. 2437  ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกันอย่างเด็ดขาด
จัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคในลักษณะการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  เรียกระบบการปกครองแบบใหม่นี้ว่า  ระบบเทศาภิบาล
                หลักการปกครองตามระบบเทศาภิบาลมีระบุไว้ในประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. 113  ซึ่งรวมหัวเมืองทั้งหมดไว้ใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย  ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116  และข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง ร.ศ. 117  ตราขึ้นเพื่อจัดการปกครองหัวเมืองตั้งแต่ระดับสูงสุดถึงระดับต่ำสุด
ไทยเริ่มจัดส่วนราชการบริหารตามแบบใหม่  มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามลำดับ 
                มณฑล  มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการ  ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
                เมือง  ให้เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครอง  โดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของข้าหลวงเทศาภิบาลประจำมณฑลนั้น ๆ               
                อำเภอ  มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง
                ตำบลและหมู่บ้าน  เป็นหน่วยการปกครองระดับล่างสุด  ผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้าน  กำนันปกครองตำบล
      เจ้าเมืองและกรมการเมืองเป็นกลไกในการปกครองของรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ  ทรงปรับปรุงระบบเงินเดือน  เก็บส่วนแบ่งของเงินภาษีมาเป็นระบบเงินเดือนจากส่วนกลาง
                การเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองเป็นระบบเทศาภิบาลนี้มิได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น  เนื่องจากรัฐบาลประสบปัญหาหลายประการด้วยกัน ได้แก่
1.     การขาดบุคลากรไปปฏิบัติงาน
2.     รัฐบาลกลาขาดงบประมาณ ทำให้ต้องเร่งรัดภาษี
3.     อำนาจของรัฐไปกระทบกับผลประโยชน์ของเจ้าเมืองและราษฎรท้องถิ่น
4.     รัฐบาลไม่ต้องการที่จะนำการปกครองแบบใหม่ เข้าไปใช้ตามหัวเมืองชายแดน เพราะเกรงจะถูกต่อต้านจากผู้ไม่พอใจที่ต้องสูญเสียอำนาจ
                การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  คือ  การปรับปรุงการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องการให้ราษฎรมีส่วนในการปกครองประเทศ  ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล  การสุขาภิบาลเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ท่าฉลอม  จังหวัดสมุทรสาคร  เมื่อ พ.ศ. 2448  มีการตั้งคณะกรรมการสุขาภิบาลขึ้นจากคนในท้องถิ่น  มีการเก็บภาษีโรงร้านและให้สุขาภิบาลมีอำนาจใช้เงินที่เก็บได้มาบำรุงท้องที่ของตน  สำหรับในกรุงเทพฯ  มีพระราชกำหนดสุขาภิบาลใน ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440)  และมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลเป็นชื่อหัวเมือง ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451)       
การเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6
     เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงต้นรัชกาล คือ กบฏ ร
..130 (พ..2454) เกิดขึ้นเนื่องจากกลุ่มนายทหารหนุ่มและพลเรือนกลุ่มหนึ่งได้ตั้งขบวนการที่จะก่อปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง หัวหน้าขบวนการ 130 คือ นายร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ และร้อยตรีจรูญ ชตะเมษ ขบวนการนี้มีแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
     ขบวนการ ร
..130 ต้องประสบความล้มเหลวเนื่องจากถูกจับกุมเสียก่อน มีการลงโทษตั้งแต่ประหารชีวิตและจำคุก แต่รัชกาลที่6ให้ลดหย่อนโทษลงให้ เหลือจำคุกตลอดชีวิต หลายคนรอแต่เพียงลงอาญา พ..2467ทุกคนได้รับพระราชทานอภัยโทษ
     ขบวนการ ร
..130 เป็นผลจากการเจริญเติบโตของระบบราชการไทยที่ก่อตั้งในรัชกาลที่5แล้วพัฒนากลายเป็นกลไกสำคัญในการปกครองประเทศ นำไปสู่ความต้องการมีส่วนในการปกครองประเทศ
     หลังกบฏ ร
..130 รัชกาลที่6 ชี้ให้เห็นว่าระบอบราชาธิปไตยเหมาะสมที่สุดสำหรับเมืองไทย และทรงปรับปรุงโครงสร้างการปกครองประเทศทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทรงพยายามพัฒนาความรู้ความคิดของพลเมืองให้มากขึ้น เช่น การตราประราชบัญญัติประถมศึกษา พ..2464 และการให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแก่วงการหนังสือพิมพ์ ทรงเห็นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยควรจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  จึงทรงจัดตั้งดุสิตธานีลักษณะเป็นเมืองประชาธิปไตยในบริเวณพระราชวังดุสิต เพื่อฝึกให้ขุนนางและข้าราชการทดลองปกครองและบริหารราชการท้องถิ่นเรียกว่า เทศบาล
การเมืองการปกครองสมัยรัชกาลที่  7
     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2468  ทรงพยายามปรับปรุงการปกครองและการเมืองหลายประการด้วยกัน  ได้แก่  การตั้งอภิรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  คณะรัฐมนตรีสภา  คณะเสนาบดีสภา  ซึ่งเป็นที่ประชุมคณะเสนาบดีและคณะองคมนตรี  ปรับปรุงสถาบันการเมือง  พัฒนาระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นประชาธิปไตย  ได้แก่  การบริหารส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลและสุขาภิบาล  จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
     การจัดตั้งสถาบันการเมืองต่าง ๆ เป็นการกระจายการตัดสินใจทางการเมืองไปสู่กลุ่มเจ้านาย  แต่ขั้นตอนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก็ต้องอยู่ที่พระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ปัญหาทางด้านการเมืองที่อำนางการปกครองตกอยู่ในหมู่พระราชวงศ์  ทำให้กลุ่มข้าราชการรุ่นใหม่ ๆ ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศไม่พอใจ  ปัญหาทางสังคม  ได้แก่  ปัญหาทางชนชั้น  ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพระราชวงศ์กับกลุ่มสามัญชนได้ทรงพยายามแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ และพยายามกระจายความรับผิดชอบในด้านการปกครองออกไปสู่คณะเสนาบดีและคณะสภาองคมนตรี รัชกาลที่  7  ทรงสนับสนุนการปกครองที่มาจากประชาชน  พระองค์จึงให้ความสำคัญต่อการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของเทศบาล  และได้ออกร่างพระราชบัญญัติเทศบาลฉบับแรกขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2473  แต่ยังไม่ทันได้ประกาศใช้ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475  เสียก่อน
     รัชกาลที่  7  ทรงมีแผนที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ  ในรัชกาลนี้มีการร่างรัฐธรรมนูญถึง  2  ฉบับฉบับแรกคือ  ร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยาณไมตรี
ฉบับที่สอง  ร่างเสร็จเมื่อวันที่  9  มีนาคม พ.ศ. 2474  เพียง  3  เดือนครึ่งก่อนการปฏิวัติ  แผนพัฒนาการปกครองของรัชกาลที่  7  สิ้นสุดลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย  โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงอย่ใต้กฎหมายเมื่อวันที่  24  มิถุนายน พ.ศ. 2475สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475
1. ความเสื่อมศรัทธาการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  เริ่มเสื่อมลงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  6  มาจนถึงสมัยรัชกาลที่  7
2. ประชาชนชาวไทยบางส่วนได้รับการศึกษาแบบตะวันตก  ได้ส่งนักเรียนไทยไปศึกษายังประเทศต่าง ๆ ในยุโรป  นอกจากวิชาความรู้แล้ว  ยังรับอิทธิพลความคิดวัฒนธรรมแบบตะวันตกกลับมาด้วย
3. อิทธิพลของสื่อมวลชน  ก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. 2475  ในกรุงเทพฯ  มีการออกหนังสือพิมพ์ของเอกชนหลายฉบับ  หนังสือพิมพ์เหล่านี้ได้พากันวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานที่บกพร่องของรัฐบาลอยู่บ่อย ๆ อีกทั้งยังยกย่องระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย               
4. เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำภายในประเทศอย่างรุนแรง  เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มตกต่ำตั้งแต่ปลายรัชกาลที่  6  เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1  รัชกาลที่  6  ทรงใช้จ่ายเงินจำนวนมาก  พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7  เศรษฐกิจโลกตกต่ำอย่างร้ายแรง  รัชกาลที่ 7  ทรงดำเนินนโยบายประหยัดเงินทุกวิถีทาง  พวกที่นิยมระบอบประชาธิปไตยต่างกล่าวหาว่าเป็นเพราะความบกพร่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  และคณะราษฎรได้อ้างเหตุผลนี้ในการยึดอำนาจการปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น